@_@..หัวใจยอดนักธรรม..@_@

เพื่อชีวิตจิตสำนึกที่ดีงาม” ..พุทธสิกขา (การศึกษาของพุทธ) ๑. การข้ามโอฆะ ๒. เราไม่พัก (อัปปติฏฐัง) เราไม่เพียร (อนายูหัง) เราเป็นผู้ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว(โอฆมตรินติ) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ ข้อ ๒), ธรรมคุ้มครองโลก๒. ๑.หิริ(ความละอายต่อบาป) ๒.โอตตัปปะเกรงกลัวต่อบาป) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๒๕๕) ,ธรรมทำให้งาม๒ ๑.ขันติ(ความอดทน) ๒.โสรัจจะ(ความสงบเสงี่ยม) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๔๑๐), ธรรมมีอุปการะมาก๒ ๑.สติ(ความระลึกได้,รู้ตัว) ๒สัมปชัญญะ(ความรู้ชัด,รู้เรื่อง) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๔๒๔), บุคคลหาได้ยาก๒ ๑.บุพการี(ผู้ทำอุปการะก่อน) ๒.กตัญญูกตเวที(ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๓๖๔), บูชา๒ ๑.อามิสบูชา(บูชาด้วยสิ่งของ) ๒.ปฏิบัติบูชา(บูชาด้วยการปฏิบัติ) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๔๐๑), ๓. ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ ๑.ปรโตโฆสะ (ความได้สดับฟังจากบุคคลอื่น) ๒.โยนิโสมนสิการ (ความทำในใจโดยแยบคาย) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๙๗), ๔. รูป ๒ มหาภูตรูป (คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม) อุปาทายรูป (รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูต) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๘๓), ๕.อุปัญญาตธรรม ๒ (ความรู้ทั่วถึงคุณของธรรม) ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม (อสันตุฏฐิตา) ๒. ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร (อัปปฏิวาณิตา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ข้อ ๒๕๑), ๖. การละทิฏฐิ ๓ เห็นความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เห็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เห็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ ข้อ ๒๕๔-๒๕๖), ๗. กิเลส ๓ วิติกกมกิเลส (กิเลสหยาบๆ) ปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสขั้นกลาง) อนุสัยกิเลส (กิเลสอย่างละเอียด) (จากหนังสือทางเอก ภาค ๒ หน้า ๕๕) ,๘. คือทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ ๓ มิตรดี (กัลยาณมิตโต) เพื่อนดี (กัลยาณสหาโย) สังคมสิ่งแวดล้อมดี (กัลยาณสัมปวังโก) นี้เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ ข้อ ๕), ๙. ญาณ ๓ (ปรีชาหยั่งรู้) สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ) กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ) กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้ว) (พระไตรปิฎก เล่ม ๔ ข้อ ๑๖), ๑.กามตัณหา (ความใคร่อยากในกาม) ๒.ภวตัณหา(ความใคร่อยากในภพ) ๓.วิภวตัณหา(ความใคร่อยากในวิภพ,อยากได้ความไม่มีหรือไม่ใช่ภพ เป็นตัณหาอุดมการณ์) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๒ข้อ๓๗๗), ๑๐. เทพ ๓ สมมติเทพ (เทวดาที่มีภาวะเกิดอย่าง โลกียะ) ๒.อุปปัตติเทพ (เทวดาที่มีภาวะเกิดจริงขั้น อาริยะ) ๓.วิสุทธิเทพ (เทวดาที่มีภาวะบริสุทธิ์ ขั้น อรหัตผล) (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ ข้อ ๖๕๔), ๒๒.ปริญญา ๓ (การกำหนดรู้) ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว) ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙ ข้อ ๖๒), ๑๑.ปัญญา ๓ จินตามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด) สุตมยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง) ภาวนามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรมจิตจนเห็นแจ้ง รู้จริงในผลปฏิบัติที่บรรลุของตนในตน) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๒๘), ๑๒. ปาฏิหาริย์ ๓ อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์) อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ทายใจ) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (สอนให้เห็นจริง) พระพุทธองค์ทรงอึดอัด (อัฏฏิยามิ) ระอา (หรายามิ) เกลียดชัง(ชิคุจฉามิ)ในอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ (พระไตรปิฎก เล่ม ๙ ข้อ ๓๓๙-๓๔๑), ๑.พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒.บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๓.บุคคลผู้มีกตัญญูกตเวที (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๕๕๔), ๑๓. ลักษณะของกามเมถุน ๓ เป็นเรื่องของชาวบ้าน (คามธัมมัง) เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ (วสลธัมมัง) ชั่วหยาบ (ทุฏฐุลลัง) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ ข้อ ๒๐), ๒๓. ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิเชื่อว่ากรรมเก่าเที่ยงแท้) อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิเชื่อว่าพระเจ้าเนรมิต) อเหตุอปัจจัยวาท (ลัทธิเสี่ยงโชค) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๑), ๒๔. วิโมกข์ ๓ (ความหลุดพ้น) สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น) อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต) อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ ข้อ ๔๖๙) ,๒๕. วิเวก ๓ (ความสงัด) กายวิเวก(สงัดกาย) จิตตวิเวก(สงัดใจ) อุปธิวิเวก(สงัดกิเลสที่ทำให้ติดอยู่ในวัฏฏะ) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙ ข้อ ๓๓), ๑๔. สมาธิ ๓ ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ) อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่) อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่) (จากหนังสือ วิสุทธิมรรค) ,๑๕. สัมมาสังกัปปะ ๓ ที่ยังเป็นสาสวะ ความดำริในเนกขัมมะ (เนกขัมมสังกัปโป) ดำริในความไม่พยาบาท(อัพยาปาทสังกัปโป) ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๖๒), ๑๖. สัมมากัมมันตะ ๓ ที่ยังเป็นสาสวะ งดเว้นจากปาณาติบาต (ปาณาติปาตา เวรมณี) งดเว้นจากอทินนาทาน (อทินนาทานา เวรมณี) งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๗๒) ,๑๗. สิ่งที่เสพไม่รู้อิ่ม ๓ ความหลับ สุราและเมรัย เมถุนธรรม (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๔๘), ๑๘. โสดาบัน ๓ เอกพีชี (เกิดอีกครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้) โกลังโกละ (เกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพ ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้) สัตตักขัตตุปรมะ (เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๒๘) ,๒๐. โอวาทปาฏิโมกข์ ๓ (คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่) ๑. ความไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพปาปัสสะ อกรณัง) ๒. ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม (กุสลัสสูปสัมปทา) ๓. ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (สจิตตปริโยทปนัง) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๒๔) ,๑๙. อปัณณกปฏิปทา ๓ (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด) อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ ๖) โภชเนมัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการกินการใช้) ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น) (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ข้อ ๔๕๕) ,อธิปไตย๓ (ความเป็นใหญ่) ๑.อัตตาธิปไตย(มีตนเป็นใหญ่) ๒โลกาธิปไตย(มีโลกเป็นใหญ่) ๓.ธัมมาธิปไตย(มีธรรมเป็นใหญ่) (พระไตรปิฎกเล่ม๒๐ข้อ๔๗๙)


” สำนึกที่ดีงาม”

ใส่ความเห็น